สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศม.) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ วันที่ 26 พ.ย. 64 
1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรม หดตัวที่ร้อยละ -8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือน ต.ค. 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 1,588.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. มูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 34.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
4. GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวใน หมวดพืชผลสาคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 0.9 และ 1.6 ตามลาดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ ร้อยละ -3.0 โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ามัน มันสาปะหลัง กลุ่มไม้ผล ไก่ และสุกร ขณะที่สินค้าสาคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไข่ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวใน ทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสาคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -8.6 -7.3 และ -4.1 ตามลาดับ โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสาปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ามัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

เดือน ต.ค. 64 จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือน ขณะจานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในเดือน ต.ค. 2564 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภท พิเศษ นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ นักธุรกิจ และ กลุ่มสุขภาพที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์เดินทางเข้า ประเทศไทย จานวน 20,272 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 1,588.0 และเมื่อขจัด ผลทางฤดูการพบว่าขยายตัวท่ีร้อยละ 58.5 โดยเป็นผลจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเช้ือไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีข้ึน และการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจานวนผู้เย่ียม เยือนชาวไทยในเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ 4.6 ล้านคน หดตัวใน อัตราชะลอที่ร้อยละ -66.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 69.0 โดยมีสาเหตุมาจากการแพร่ ระบาดอย่างต่อเนื่องของเช้ือไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ ปรับตัวดีข้ึนอย่างต่อเน่ือง พร้อมยังมีการเปิดให้ลงทะเบียน คนละคร่ึงเฟส 3 ต้ังแต่วันที่ 8 ต.ค. เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงท่ีต้องติดตาม ได้แก่ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในทวีปยุโรป โดยหลายประเทศมี การพบผู้ติดเช้ือเพ่ิมขึ้น ทาให้บางประเทศเริ่มกลับมาใช้ มาตรการควบคุมอีกคร้ัง ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่มีทิศทางมี ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อการท่องเที่ยวในช่วงส่งท้ายปี เก่าต้อนรับปีใหม่



ที่มา : กระทรวงท่องเท่ียวและกีฬา

 

มูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 64 มีมูลค่า 22,739 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ ร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่อเนื่องติดต่อกันเป็น เดือนที่ 8
สำหรับสินค้าสาคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (10.3%) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ามัน (67.3%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (35.9%) อัญมณีและ เครื่องประดับไม่รวมทองคา (20.6%) แผงวงจรไฟฟ้า (18.6%) กลุ่มผลไม้ฯ อาทิ ลาไยสด (97.7%) และ มะม่วงสด (27.0%) ยางพารา (51.7%) ข้าว (33.7%) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง (29.5%) น้าตาลทราย (111.6%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (24.5%) และอาหารสัตว์เลี้ยง (14.4%) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจาแนกเป็นราย ตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าที่สาคัญขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ จีน เกาหลีใต้ กลุ่มอาเซียน และกลุ่มเอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดีย ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 16.1 14.1 30.5 31.0 และ 58.3 ต่อปี ตามลาดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ ร้อยละ 15.7 ต่อปี

มูลค่าการนาเข้าในเดือน ต.ค. 64 มีมูลค่า 23,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงขยายตัวในอัตราสูงที่ ร้อยละ 34.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
จากสินค้านาเข้าที่ขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มสาคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง (104.4%) กลุ่มสินค้าทุน (25.4%) กลุ่มสินค้าวัตถุดิบฯ (26.7%) กลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค (34.3%) กลุ่มยานพาหนะและ อุปกรณ์ฯ (2.5%) ทั้งนี้ มูลค่าการนาเข้าช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 31.3 ต่อปี สาหรับดุลการค้า ในเดือน ต.ค. 64 ขาดดุล มูลค่า -370.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 1,646.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


 

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐ

  • ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล แล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดขายบ้านในเขต Midwest และ South ที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และ ยอดขายในเขต Northeast และ West ที่หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้า
  • ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล แล้ว) จากยอดขายคอนโดมิเนียมมือสองที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน
  • ราคากลางบ้านมือสอง เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคากลางบ้านมือสองที่ เพิ่มขึ้นในทุกเขต
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (14-20 พ.ย. 64) อยู่ที่ระดับ 1.99 แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 และเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 52 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 12

ญี่ปุ่น 

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ย. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 54.2 จุด จาก 53.2 จุด ในเดือน ก.ย. 64 เนื่องจากผลผลิต และคาสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 จุด จาก 50.7 จุด ในเดือน ก.ย. 64

ยูโรโซน

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -6.8 จุด ลดลงจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -4.8 จุด เนื่องจากภาคครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาด โรคโควิด-19 ระลอกใหม่
  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.3 จุด และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.3 จุด
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 56.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 53.5 จดุ

ฮ่องกง

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 ขาดดุลที่ -30.5 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ -42.4 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

ออสเตรเลีย

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ท่ีระดับ 58.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เน่ืองจากภาคการผลิตมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากข้ึนจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ปรับตัวดีขึ้น
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ท่ีระดับ 55.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น

สิงคโปร์

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาส ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาค่าขนส่งเป็นสาคัญ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิต อุตสาหกรรมโดยรวมเป็นสำคัญ

มาเลเซีย

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าท่ีอยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาบ้านเป็นสาคัญ

เกาหลีใต้

  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี จากร้อยละ 0.75ต่อปเีพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สินภาคครัวเรือน

ไต้หวัน

  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นระดับท่ีต่าท่ีสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวท่ีร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สหราชอาณาจักร

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 57.8 จุด อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตของสหราชอาณาจักรยังคง ประสบกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบการผลิตและแรงงาน
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด ลดลงจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 59.1 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุด สะท้อนให้ เห็นถึงภาคบริการที่ยังคงสามารถขยายตัวได้

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวเพ่ิมข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) CSI300 (เซี่ยงไฮ้) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,648.46 จุด ด้วยมูลค่าซื้อ ขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 64 อยู่ที่ 86,099.68 ล้านบาทต่อ วัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อ สุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 3,045.87 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 4 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 และ 3 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.46 และ 0.79 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนัก ลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,495.36 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 25 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 143,224.31 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 พ.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -2.20 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์ สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ใน ภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -1.56 จากสัปดาห์ก่อน



Economic Indicators




Global Economic Indicators



ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259